ความเป็นมา
วันก่อตั้งบริษัท – บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2539 ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 10,000,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยใช้กลยุทธ์การทำตลาดในลักษณะเครือข่าย (Multi-level marketing) เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันสู่กลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทย และได้มีการกระจายฐานลูกค้าในทุกภูมิภาค
ทุนจดทะเบียน – ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 90,000,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นถึงการเติบโตและความมั่นคงของบริษัทจากการเติบโตของยอดธุรกิจมาตลอด 24 ปีที่ผ่านมานับจากวันจัดตั้งบริษัท และบริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายยอดธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องเพื่อรองรับฐานสมาชิกเครือข่ายที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี
ผู้ก่อตั้ง – มิสเตอร์ เตีย เบง เซง ( Mr.Teoh Beng Seng ) เป็นผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทซูเลียนขึ้นในประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2532 ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการมอบโอกาส และความสำเร็จที่เท่าเทียมให้กับนักธุรกิจที่มีความตั้งใจจริง และมีความพยายามที่จะทำให้สำเร็จผ่านการนำเสนอสินค้าที่ยอดเยี่ยมรวมกับการมีแนวคิดแบบผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งจะให้ผลลัพธ์ที่นำมาซึ่งความสำเร็จภายใต้วิสัยทัศน์นี้ บริษัทซูเลียนจึงประสบความสำเร็จในการเป็นศูนย์กลางรวบรวมผู้คนจากทุกสารทิศที่มีหลากหลายประสบการณ์ผ่านโครงสร้างการทำธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยหลักการที่สำคัญนี้จึงเป็นรากฐานที่ทำให้บริษัทสามารถแบ่งปันพื้นฐานการทำธุรกิจกับเครือข่ายสมาชิกให้เติบโต
ผู้บุกเบิก บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) จำกัด – ดร.ปิยะวัฒน์ จุลล์จักรวงศา ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทเป็นผู้นำคนสำคัญในการบุกเบิกตลาดสินค้าอุปโภคในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านภายใต้แบรนด์สินค้า “ซูเลียน”
ดร. ปิยะวัฒน์ มีคำขวัญในการทำงานที่ว่า “ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม” และคำขวัญนี้ก็เป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญที่ทำให้เครือข่ายนักธุรกิจซูเลียนแข็งแกร่งจากความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ และยึดมั่นในคุณธรรมในการทำธุรกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) มียอดขายและกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งตลอด 24 ปีที่ผ่านมา
ผลิตภัณฑ์ – สินค้าเริ่มแรกของบริษัทประกอบไปด้วย เครื่องประดับทองคำเคลือบ โดยเป็นสินค้าตามสมัยนิยมในยุคนั้น และบริษัทมีจุดเด่นของบริการหลังการขายในตอนนั้นคือการบริการเคลือบทองให้กับเครื่องประดับที่ลูกค้าซื้อไปปีละครั้งโดยไม่คิดเงิน และรับประกันสินค้าตลอดอายุการใช้งาน และบริษัทก็ได้นำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- กาแฟโสม – พ.ศ. 2541 บริษัทก็เริ่มทำการนำเข้าผลิตภัณฑ์กาแฟโสมมาทำตลาดในเมืองไทย ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากจึงทำให้บริษัทมีผลกำไรที่เติบโต และจึงต่อยอดนำสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ มาทำตลาดในประเทศไทยเพิ่มเติม
- ยาสีฟัน – พ.ศ. 2542 บริษัทเริ่มจำหน่าย SmileOn ยาสีฟันสูตรฟลูออไรด์ และว่านหางจระเข้
- เครื่องดื่มชนิดผง – พ.ศ. 2543 บริษัทเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์โกโก้พลัส เครื่องดื่มผงรสโกโก้ผสมน้ำผึ้งชนิดชง และผลิตภัณฑ์นูทรีพลัสซีเรียลพร้อมทานผสมน้ำผึ้ง
- เครื่องดื่มชนิดผง – พ.ศ. 2544 บริษัทเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์บียางค์ ซีเรียลผสมผลไม้ และผักชนิดผง และผลิตภัณฑ์ เวกิ-เวร่า เครื่องดื่มต้นอ่อนข้าวสาลีชนิดชง
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสินค้าคุณภาพดี และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคเกิดการใช้ซ้ำ ในขณะที่สินค้าประเภทเครื่องประดับทองคำเคลือบก็ค่อยๆ ลดความนิยมลงไป ประกอบกับที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 จึงทำให้บริษัทยกเลิกการจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องประดับไป
ขยายคลังสินค้าบริษัท
เพื่อให้การกระจายสินค้ามีความครอบคลุมทั้งประเทศ และลดความเสี่ยงของการพึ่งพิงคลังสินค้าที่จังหวัดนนทบุรีเพียงแห่งเดียวบริษัทจึงได้ทำการขยายคลังสินค้าของบริษัทไปที่จังหวัดนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2557
ขยายธุรกิจในต่างประเทศ
ในปี 2561 บริษัทเริ่มขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศพม่า และในปี 2563 บริษัทก็ได้ขยายธุรกิจเข้าสู่ประเทศกัมพูชา โดยเป็นการเพิ่มฐานสมาชิกนักธุรกิจซูเลียนในภูมิภาคอาเซียน
ฐานสมาชิก
ปัจจุบัน บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) มีจำนวนสมาชิกในไทย และต่างประเทศรวมทั้งหมด 5.4 ล้านคน ประกอบไปด้วยสมาชิกที่ Active ในประเทศไทยจำนวน 213,306 คน ในประเทศกัมพูชาจำนวน 24,073 ประเทศพม่าจำนวน 62,000 คน และด้วยโครงสร้างการจ่ายผลตอบแทนให้กับนักธุรกิจในเครือข่ายของบริษัทที่มีความเท่าเทียม และทำได้จริง และเป็นโอกาสที่เปิดกว้างให้กับคนทุกคน ทุกสาขาอาชีพ และการที่บริษัทจัดให้มีสัมมนาพัฒนาทักษะการขายให้กับสมาชิกที่จัดขึ้นทุกวันเสาร์ของทุกเดือนจึงทำให้ยอดการขายของบริษัทมีการเติบโตได้ต่อเนื่องจากกลุ่มสมาชิกในเครือข่ายที่มีความภักดีต่อแบรนด์สูง เหล่านี้จึงเป็นรากฐานที่สำคัญของบริษัท
ศูนย์กระจายสินค้า
บริษัทมีศูนย์กระจายสินค้าที่เรียกว่า “ตัวแทนผู้จัดจำหน่าย หรือเอเจนซี่” ที่ได้รับการอนุญาตจากบริษัทเพื่อเปิดศูนย์กระจายสินค้าตามจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย จำนวน 162 แห่ง ในประเทศกัมพูชาจำนวน 24 แห่ง และประเทศพม่าจำนวน 13 แห่ง
ZHULIAN COMPANY TIMELINE
- บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) จัดตั้งขึ้นโดย ดร.ปิยะวัฒน์ จุลล์จักรวงศา ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการของบริษัท ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกที่ 10,000,000 บาท ดร. ปิยะวัฒน์เป็นผู้นำคนสำคัญในการบุกเบิกตลาดสินค้าอุปโภคในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านภายใต้แบรนด์สินค้า “ซูเลียน” และในขณะนั้น บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นการเช่าอาคารพาณิชย์ 8 คูหาเพื่อรองรับกาทำธุรกิจและการจัดประชุมของสมาชิก
- วัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยใช้กลยุทธ์การทำตลาดในลักษณะเครือข่าย (Multi-level marketing) เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันสู่กลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยและได้มีการกระจายฐานลูกค้าในทุกภูมิภาค
- ดร. ปิยะวัฒน์ มีคำขวัญในการทำงานที่ว่า “ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม” และคำขวัญนี้ก็เป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญที่ทำให้เครือข่ายนักธุรกิจซูเลียนแข็งแกร่งจากความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ และยึดมั่นในคุณธรรมในการทำธุรกิจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) มียอดขายและกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งตลอด 24 ปีที่ผ่านมา
- ยอดขายของบริษัทเติบโตมาอยู่ที่ 805 ล้านบาทต่อปี (67 ล้านบาทต่อเดือน) หรือเติบโตกว่า 47% จากปีก่อนหน้าที่ 546 ล้านบาท
- บริษัทมีฐานผู้สมัครสมาชิกสะสมตั้งแต่จัดตั้งบริษัทในปี 1997 รวมกว่า 350,000 รหัส
- บริษัทย้ายสำนักงานใหญ่จากเขตบางนา กรุงเทพมหานคร มาอยู่ที่อาคารจิรธนา ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี บนที่ดินของบริษัท เนื้อที่กว่า 94 ไร่ มีห้องประชุมอาคารจิรธนา ที่สามารจุผู้เข้าร่วมประชุมได้กว่า 2,000 คน มูลค่าการสร้างอาคารกว่า xx ล้านบาท สร้างด้วยเงินสดของบริษัท โดยไม่ผ่านการกู้ยืมใดๆ จากสถาบันการเงิน
- หลังจากบริษัทย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่ อำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี ในปี 2553 ผ่านไป 7 ปี ธุรกิจของบริษัทเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ยอดขายของบริษัทเติบโตขึ้นมาถึง 4,039 ล้านบาท หรือเติบโตกว่า 400% จากปี 2003 โดยเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดด
- บริษัทมีฐานผู้สมัครสมาชิกสะสมตั้งแต่จัดตั้งบริษัทรวม 1.7 ล้านหรัส
- บริษัทเปิดใช้อาคารสำนักงานแห่งที่ 2 ชื่ออาคาร Zhulian Royal Convention Center ความจุของห้องประชุมรองรับคนได้กว่า 7,000 คน มูลค่าอาคารกว่า xx ล้านบาท สร้างด้วยเงินสดของบริษัททั้งสิ้น
- ไตรมาส 1/2563 บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการปรับโครงสร้างบริษัทผ่านการจัดตั้งบริษัท ซูเลียน โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นเป็นบริษัท Holding Company เพื่อดำเนินธุรกิจผ่านการถือหุ้นบริษัทในเครือซูเลียน และเพื่อปรับโครงสร้างของบริษัทให้พร้อมสำหรับการเตรียมตัวเป็นบริษัทมหาชน และเตรียมตัวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เดือนมีนาคม บริษัทขยายการลงทุนผ่านการจัดตั้งสำนักงานของบริษัทฯ ภายใต้ชื่อ Zhulian Network Cambodia Co., Ltd. ในประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการ และจัดงานเปิดตัว Grand Opening Day โดยมีผู้เข้าร่วมงานชาวกัมพูชากว่า 35,000 คน
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการงานของบริษัท โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกิจการ เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกรายอย่างเป็นธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทในระยะยาวอย่างยั่งยืน
โครงสร้างคณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 12 คน โดยจะต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกันของคณะกรรมการ ทั้งนี้ การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัทเป็นอำนาจของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอานาจักรไทย
นอกจากนั้น คณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยทั้งสิ้น 4 คณะ เพื่อทำหน้าที่ ในการกลั่นกรองงานและช่วยในการบริหารงานของบริษัท ดังนี้
1.1 คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และสมาชิกอย่างน้อย 2 ท่าน ซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยกรรมการตรวจสอบแต่ละท่านต้องเป็นกรรมการอิสระที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติบครบถ้วนสำหรับการดำรงงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ ประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คณะกรรมการตรวจสอบมีภารกิจในการช่วยคณะกรรมการบริษัทให้ปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ และด้วยความชำนาญ เพื่อสอบทาน ตรวจตรา กระบวนการรายงานทางการเงิน และระเบียบการควบคมภายในบริษัท และ/หรือ บริษัทย่อย เพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียของ บริษัทและจัดเตรียมการประชุมและหัวข้อการประชุมอย่างเป็นทางการ เพื่อการสื่อสารระหว่างกันของคณะกรรมการบริษัทและหัวหน้าฝ่ายการเงิน ผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี เพื่อติดตามว่าระบบการควบคุมภายในมีประสิทธิผล และรายงานประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการบริษัท
1.2 คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee)
คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยประธานคณะกรรมการบริหารและสมาชิกอย่างน้อย 2 ท่าน ซึ่งทั้งหมด มาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่แสดงถึง การขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริการจัดการกิจการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด และไม่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริหารมีภารกิจในการรับนโยบายการบริหารงานจากคณะกรรมการบริษัท มาจัดทำ เป็นแผนงานของบริษัทเพื่อนำมาปฏิบัติ ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางนโยบาย ติดตามการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานโดยทั่วไปและรายงานถึงกิจกรรมที่คณะกรรมการบริหารได้ดำเนินการไปแล้วต่อคณะกรรมการบริษัท
1.3 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee)
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วยประธานกรรมการบริหารความเสี่ยงและสมาชิกอย่างน้อย 2 ท่าน ซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งโดยที่ประชุมกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีภารกิจในการนำเสนอนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติภายในกลุ่มบริษัท สนับสนุนการอบรม รวบรวม ติดตามความเสี่ยงเพื่อให้ เกิดความตระหนักและเข้าใจในความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง และสามารถนำไปปฏิบัติได้
1.4 คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (Nomination and Remuneration Committee)
คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ประกอบด้วยประธานกรรมการสรรหาและ พิจารณาค่าตอบแทนและสมาชิกอย่างน้อย 2 ท่าน ซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และต้องไม่เป็นประธานกรรมการบริษัทหรือกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหาร
คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน มีภาระหน้าที่ในการพิจารณาและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท และพิจารณาและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูง รวมถึงการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์สำหรับกำหนดค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้อนุมัติค่าตอบแทน ของผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป ส่วนค่าตอบแทนกรรมการให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้อนุมัติ
1). คณะกรรมการบริษัทจะยึดถือข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและจรรยาบรรณที่คณะกรรมการกำหนดขึ้น เป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2). คณะกรรมการกำหนดให้มีการทบทวนและอนุมัติ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และจรรยาบรรณของบริษัททุก ๆ 1 ปี หรือตามเห็นสมควร
3). คณะกรรมการกำหนดให้มีการทบทวนและอนุมัติ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และจรรยาบรรณของบริษัททุก ๆ 1 ปี หรือตามเห็นสมควร
- การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง (Duty of Care)
- การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty)
- การปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (Duty of Obedience)
- การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส (Duty of Disclosure)
4). คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลกิจการเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยยึดแนวปฏิบัติสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
5). คณะกรรมการบริษัทสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการกำกับดูแลและกลั่นกรองงานเหล่านั้นแทนคณะกรรมการบริษัท โดยคัดเลือกจากกรรมการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในแต่ละเรื่องที่เกี่ยวข้องร่วมกันติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
ข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้คณะกรรมการต้องมีการประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง และอาจมีการประชุมพิเศษเพิ่มเติมตามความจำเป็น และมีการจัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่กรรมการเพื่อพิจารณาก่อนการประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนการประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท ซึ่งในการประชุมทุกคราวจะมีการกำหนดวาระการประชุมที่ชัดเจน มีเอกสารการประชุมที่ครบถ้วนเพียงพอ โดยจัดส่งให้คณะกรรมการล่วงหน้า เพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัท กรรมการทุกคนสามารถอภิปรายและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผย นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทจะมีการเชิญผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง
บริษัทมีความมุ่งมั่นให้คณะกรรมการบริษัท ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ครบถ้วน ต่อเนื่องและทันเวลาก่อนการประชุมทุกครั้ง ทั้งนี้กรรมการบริษัท สามารถติดต่อเลขานุการบริษัทได้โดยตรงอย่างอิสระ เลขานุการบริษัทมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
นอกจากนี้ คณะกรรมการมีนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีโอกาสที่จะประชุมระหว่างกันเองตามความจำเป็น เพื่ออภิปรายปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ โดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย และควรแจ้งให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบถึงผลการประชุมด้วย
บริษัทมีแผนการคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามารับผิดชอบในตำแหน่งงานบริหารที่สำคัญทุกระดับให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และโปร่งใส เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ผู้บริหารที่มีความเป็นมืออาชีพและบริหารได้โดยเป็นอิสระ โดยมีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาและมีการทบทวนแผนดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ผู้บริหารที่ได้รับการกำหนดให้เป็นบุคคลที่จะสืบทอดตำแหน่งนั้นจะได้รับการพัฒนาตามแผนการพัฒนารายบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลื่อนตำแหน่งต่อไปในอนาคต
คณะกรรมการจะจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมาและหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของคณะกรรมการในปีต่อ ๆ ไป
นอกจากนี้ บริษัทจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูง โดยจะพิจารณาการดำเนินงานของธุรกิจและบริษัท ความเป็นผู้นำองค์กร การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และการดำเนินงานตามนโยบายที่ได้รับจากคณะกรรมการบริษัท โดนคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานและกำหนดค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญเรื่องการควบคุมภายในและตรวจสอบ โดยส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับมีจิตสำนึกในจริยธรรมและคุณธรรม โดยตระหนักถึงความสำคัญของระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบภายในด้วย การจัดให้มีระบบการควบคุมและตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร แต่ยังคงรักษาความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน โดยเป็นระบบที่พนักงานสามารถควบคุม กำกับ ประเมินผล และสอบทานการทำงานได้ด้วยตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงด้านการทุจริต การใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง และป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมาย
คณะกรรมการตรวจสอบจะทำหน้าที่สอบทานรายงานทางการเงิน โดยฝ่ายบัญชีและการเงินและผู้สอบบัญชีประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานทางการเงินต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส โดยการจัดทำงบการเงินดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย และตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้มีการฝึกอบรมและการให้ความรู้แก่กรรมการผู้เกี่ยวข้องในระบบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท เช่น กรรมการ กรรมการตรวจสอบ ผู้บริหาร เป็นต้น เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือแต่งตั้งกรรมการใหม่ ฝ่ายจัดการให้มีการแนะนำบริษัทโดยครอบคลุมถึงลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้แก่กรรมการใหม่
คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเพื่อความโปร่งใสและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน บริษัทได้กำหนด กฎระเบียบการใช้ข้อมูลดังนี้
1). กรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และพนักงานบริษัท จะต้องเก็บความรักษาความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายในของบริษัท ยกเว้นจะใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัท เท่านั้น
2). กรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และพนักงานบริษัท จะต้องไม่เปิดเผยความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายในของบริษัท เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
3). กรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และพนักงานบริษัท จะไม่ซื้อ/ ขาย/ โอนในหลักทรัพย์ของบริษัท โดยใช้ข้อมูลที่เป็นความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายในบริษัท และ/หรือ การเข้าทำรายการโดยใช้ข้อมูลที่เป็นความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายในของบริษัท อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยให้นับรวมถึงคู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และพนักงานบริษัท โดยจะมีบทลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ฝ่าฝืนกฎระเบียบดังกล่าวข้างต้น
กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือบุคคลใดที่รับผิดชอบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผู้สอบบัญชี เจ้าหน้าที่และพนักงานของบริษัท ซื้อ/ขาย หรือ เสนอซื้อ/เสนอขายในหลักทรัพย์ของบริษัทหรือชักชวนบุคคลอื่น ซื้อ/ขาย หรือ เสนอซื้อ/เสนอขายในหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง หรือ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น โดยใช้ข้อมูลภายในของบริษัท ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัท ซึ่งข้อมูลดังกล่าวที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือใช้ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น การกระทำของบุคคลดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายในฐานะผู้ใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading)
ในกรณีที่ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือบุคคลใดที่รับผิดชอบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทและผู้สอบบัญชีของบริษัท ได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของบริษัทบุคคลดังกล่าวจะต้องมีหน้าที่จัดทำและรายงานข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ในระยะเวลาที่กำหนดภายใต้กฎระเบียบของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยให้นับรวมคู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าวข้างต้น
คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้ฝ่ายบริหารของบริษัท มีหน้าที่ดูแลให้บริษัทมีการติดต่อสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา แก่นักลงทุน สื่อมวลชน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกลุ่มอื่น ๆ โดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เช่นเอกสารเผยแพร่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และการแถลงข่าวต่าง ๆ รวมทั้งการใช้สื่อทางเว็บไซต์ อีเมล์ และ/หรือช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการพบปะและเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลกับนักลงทุนและนักวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ
1. คณะกรรมการบริษัทเคารพในสิทธิและมีหน้าที่ในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าผู้ถือหุ้นนั้นจะเป็นรายย่อยชาวไทยหรือชาวต่างชาติ นักลงทุนสถาบันหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิและความเท่าเทียมกันดังนี้
-
- 1). สิทธิในการได้รับใบหุ้น โอนหุ้นและสิทธิในการรับทราบข้อมูล ผลการดำเนินงาน นโยบายการบริหารงาน อย่างสม่ำเสมอและทันเวลา
-
- 2). สิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไรร่วมกันอย่างเท่าเทียม
-
- 3). สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น แสดงความเห็น ให้ข้อเสนอแนะและร่วมพิจารณาตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่าง ๆ เช่น การแก้ไขข้อบังคับ การแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี การออกหุ้นเพิ่มทุน
-
- 4). สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการบริษัท
นอกจากนี้แล้วผู้ถือหุ้นทุกรายยังได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อบังคับของบริษัท
2. คณะกรรมการบริษัทเคารพในสิทธิและมีหน้าที่ในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าผู้ถือหุ้นนั้นจะเป็นรายย่อยชาวไทยหรือชาวต่างชาติ นักลงทุนสถาบันหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิและความเท่าเทียมกันดังนี้
-
- 1). ดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมายและแนวทางการประชุมผู้ถือหุ้นที่กำหนดนโดยหน่วยงานกำกับดูแล
-
- 2). ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกราย รวมทั้งผู้ถือหุ้นประเภทสถาบันเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้น
-
- 3). จัดประชุมผู้ถือหุ้นในสถานที่ที่ผู้ถือหุ้นสามารถเดินทางไปร่วมประชุมได้สะดวก
-
- 4). เปิดเผยวาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมในเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าถึงและศึกษาได้เป็นการล่วงหน้า 30 วันก่อนการประชุม
-
- 5). การประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งให้แต่งตั้งกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้รับมอบอำนาจ แทนผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าประชุมและแจ้งไว้ในหนังสือนัดประชุม
-
- 6). การประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งให้แต่งตั้งกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้รับมอบอำนาจ แทนผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าประชุมและแจ้งไว้ในหนังสือนัดประชุม
-
- 7). เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอวาระการประชุมเพื่อพิจารณาบรรจุเป็นวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคล เพื่อเข้ารับการเลิอกตั้งเป็นกรรมการบริษัทในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
-
- 8). ผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิและความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ การแสดงความเห็น และตั้งคำถามใด ๆ ต่อที่ประชุมตามระเบียบวาระการประชุมและเรื่องที่เสนอ โดยประธานในที่ประชุมมีหน้าที่จัดสรรเวลาให้อย่างเหมาะสมและส่งเสริมให้มรการแสดงความเห็นและซักถามในที่ประชุม
-
- 9). ผู้ถือหุ้นมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนแยกสำหรับแต่ละวาระที่เสนอ คณะกรรมการบริษัทต้องไม่รวมเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันแล้วเสนอขออนุมัติ รวมเป็นมติเดียว
-
- 10). จัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นให้แล้วเสร็จภายใน 14 วันและมีรายละเอียดเพียงพอ รวมทั้งคำถามและคำตอบที่เกิดขึ้นในที่ประชุม และเปิดเผยบนเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมได้สอบทานและแสดงความเห็นต่อรายงานการประชุม รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม
3. กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานส่วนได้เสียที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ตนเองมีส่วนได้เสียในเรื่องที่บริษัทจะเข้าทำรายการ ห้ามมีส่วนร่วมในการพิจารณาและอนุมัติในเรื่องนั้น
4. กรรมการ ผู้บริหารและพนังกาน ต้องไม่ใช้ข้อมูลภายในของกลุ่มบริษัทที่มีสาระสำคัญและยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น
5. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่มีความประสงค์จะซื้อขายหลักทรัพย์ของกลุ่มบริษัท จะต้องปฏิบัติตามนโยบายการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท
บริษัทได้ตระหนักถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามแนวนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ตลอดจนนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กิจการของบริษัทดำเนินไปด้วยดี มีความมั่นคง สร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่ง ตลอดจนชุมชน และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทก็ยังคำนึงถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน และมีนโยบายการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย
ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทจึงได้อนุมัติจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct) ของบริษัท ซึ่งได้ระบุรายละเอียดความสำคัญ และได้กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ และประกาศใช้ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนรับ และถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมทั้งได้กำหนดบทลงโทษในการไม่ปฏิบัติตามลักษณะแห่งความผิดตามสมควรแก่กรณี ซึ่งจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว มีหลักการปฏิบัติที่สำคัญซึ่งครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
1) ผู้ถือหุ้น
-
-
- บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักบรรษัทภิบาลเป็นสำคัญ มีความโปร่งใส เชื่อถือได้ และแน่วแน่ในการสร้างงานสร้างกิจการให้มีฐานะทางการเงินที่มั่นคงยั่งยืน เพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการให้แก่ผู้ถือหุ้น และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ
-
2) พนักงาน
-
-
- บริษัทจัดให้มีการดูแลพนักงานอย่างเสมอภาค การให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากร ตลอดจนการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
-
3) ลูกค้า
-
-
- บริษัทคำนึงถึงความพอใจสูงสุดของลูกค้าเป็นสำคัญ บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้า และให้บริการที่ปลอดภัย รวดเร็ว มีคุณภาพ ครบวงจร เพื่อสนองต่อความต้องการของลูกค้า และรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน โดยบริษัทจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการให้ข้อเสนอแนะในสินค้า คำปรึกษาวิธีการแก้ปัญหา และรับข้อร้องเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุดในสินค้าและบริการ
-
4) คู่แข่งทางการค้า
-
-
- บริษัทเน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับคู่แข่ง ภายใต้กรอบการแข่งขันที่ดี ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สจริตหรือไม่เหมาะสม เช่นการจ่ายเงินสินจ้างให้แก่พนักงานของคู่แข่ง เป็นต้น และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย
-
5) เจ้าหนี้
-
-
- บริษัทปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่อย่างเป็นธรรม มีความรับผิดชอบและโปร่งใส โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดของสัญญาและพันธะทางการเงินอย่างเคร่งครัด ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูลข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอันจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข
-
6) คู่ค้า
-
-
- บริษัทปฏิบัติตามกรอบการแข่งขันทางการค้าที่สุจริตโดยยึดถือการปฏิบัติตามสัญญา จรรยาบรรณบริษัท และคำมั่นที่ให้ไว้กับลูกค้าอย่างเคร่งครัด และมีนโยบายในการส่งมอบสินค้าตรงตามเงื่อนไข คุณภาพ และเวลาที่กำหนด
-
7) สังคมและสิ่งแวดล้อม
-
- บริษัทเป็นแบบอย่างที่ดี มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ
บริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลและข่าวสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ชัดเจน โปร่งใส และน่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกรายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและเท่าเทียมกัน ทั้งข้อมูลทางการเงิน และไม่ใช่การเงิน รวมไปถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือเว็บไซต์ของบริษัท
สารสนเทศที่สำคัญที่บริษัทมีนโยบายให้เปิดเผยต่อสาธารณชน มีดังนี้
-
- 1) วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท
-
- 2) ลักษณะการประกอบธุรกิจ
-
- 3) โครงสร้างการถือหุ้น และโครงสร้างองค์กร
-
- 4) รายชื่อคณะกรรมการ และผู้บริหารของบริษัท รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
-
- 5) นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ นโยบายบริหารความเสี่ยง นโยบายต่อต้านการทุจริต ค่านิยมองค์กร นโยบายด้านอื่น ๆ ของบริษัท รวมไปถึงกฎบัตรต่าง ๆ เป็นต้น
-
- 6) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและค่าตอบแทนของคณะกรรมการและผู้บริหาร
-
- 7) งบการเงิน รายการระหว่างกัน รายงานเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของงานบริษัท
-
- 8) แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปี (แบบ 56-2) และผลการดเนินงานรวมถึงคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายบริหารรายไตรมาส (MD&A)
-
- 9) หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น และเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
-
- 10) ข้อมูลนักลงทุนสัมพันธ์ และเอกสารประกอบการนำเสนอข้อมูลแก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์
-
- 11) เปิดเผยสารสนเทศใด ๆ ตามที่กำหนดโดยกฎหมาย หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
1. การบริหารความเสี่ยง
-
- 1) บริษัทได้จัดทำกรอบและนโยบายบริหารความเสี่ยง เพื่อใช้ในการระบุและบริหารความเสี่ยง วัตถุประสงค์หลักของการบริหารรความเสี่ยงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้กับบริษัทเป็นสำคัญ และเพื่อเป็นประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท
-
- 2) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายบริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการออกแบบและนำกรอบการบริหารความเสี่ยงมาปฏิบัติ และบริหารความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการของบริษัท
บริษัทระบุ ประเมิน และบริหารจัดการความเสี่ยงในทุกขั้นตอนตั้งแต่การพัฒนาและเลือกใช้กลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ การตัดสินใจลงทุนการบริหารงานประจำวัน
คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ช่วยสนับสนุนคณะกรรมการบริษัท โดยสอบทานเพื่อให้ความมั่นใจกับคณะกรรมการบริษัทว่าบริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงมีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิผล
2. การควบคุมภายใน
-
- 1) บริษัทได้นำมาตรฐานการควบคุมภายในระดับสากล และแนวทางปฏิบัติที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาใช้ในการพัฒนาระบบการควบคุมภายในของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องดังต่อไปนี้
-
- 2) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายบริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการออกแบบและนำระบบควบคุมภายในที่ดีไปใช้ปฏิบัติ
-
- 3) คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่สอบทานความมีประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละครั้งและเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติก่อนที่จะรายงานให้ผู้ถือหุ้นรับทราบ
3. การตรวจสอบภายใน
บริษัทได้จัดตั้งสำนักงานตรวจสอบภายในขึ้นเป็นหน่วยงานอิสระหน่วยงานหนึ่งในบริษัท หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การทำหน้าที่เป็นไปด้วยความอิสระและเที่ยงธรรม กิจการการตรวจสอบจะช่วยให้บริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์โดยการนำวิธีที่เป็นระบบมาใช้เพื่อประเมินและปรับปรุงความมีประสิทธิผลของระบบบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายในและระบบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญกำกับการดูแลองค์กรตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเห็นว่าการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาปฏิบัติในองค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเริ่มจากคณะกรรมการบริษัทต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร โดยมีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ในการกำหนดนโยบายกำกับดูแลการดำเนินกิจการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนผลักดัน เสริมสร้าง และปลูกฝังให้พนักงานมีความตระหนักแนวทางการปฏิบัติตามนโยบายกำกับดูแลกิจการ อย่างทั่วถึง
บริษัทเชื่อว่าระบบการกำกับดูแลตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ จะส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพในการแข่งขันที่ดี ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตัวบริษัทให้เกิดขึ้นกับนักลงทุน สถาบันการเงิน และพันธมิตรธุรกิจที่เกี่ยวข้องอันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น และประโยชน์ที่สมดุลร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงชุมชน สังคม และประเทศชาติ